ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง




ประวัติความเป็นมา
Frederick Herzber ได้คิดค้นทฤษฎีการจูงใจในการทำงานซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในวงการบริหาร ชื่อทฤษฎีของ Herzberg มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป 
motivation-maintenance theory หรือ“dual factor theory หรือ            
themotivation-hygienetheoryได้รับแรงบันดาลใจเรื่องการจูงใจ จากการที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้ๆฐาน
Dachau concentration camp และสังคมในละแวกนั้นเป็นกลุ่มคนที่มีระดับการจูงใจสูงมาก

ทฤษฎี 2 ปัจจัย ของเฮอร์ซเบิร์ก (Herzberg’s Two-Factor Theory) ได้มีการพัฒนา) ในปีค.ศ. 1950-1959 และในช่วงแรกของ ปีค.ศ. 1960-1969 (ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ, 2550) ซึ่งเสนอแนะว่าความพึงพอใจในการทำงาน ประกอบด้วย 2 แนวคิด คือแนวคิดที่มีขอบเขตจากความพึงพอใจ(Satisfaction)ไปยังความไม่พึงพอใจ (No Satisfaction) และการได้รับอิทธิพลจากปัจจัยจูงใจ (MotivationFactors)และแนวคิดที่มีขอบเขตจากความไม่พึงพอใจ (Dissatisfaction) ไปยังการไม่มีความไม่พึงพอใจ (No Dissatisfaction) และได้รับอิทธิพลจากปัจจัยอนามัย(Hygiene Factors)

หลักและแนวคิด
Herzberg ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัย ที่มีผลต่อการทำงานของบุคคลกรในองค์ โดยศึกษา ถึงทรรศนะคติของบุคคลที่มีต่อการทำงานเพื่อหาทางที่จะลดความไม่พอในในการทำงาน เพื่อที่ทำให้คนงานมีความรู้สึกที่ดีในการที่จะ พยายามเสริมสร้างผลผลิตของงานให้มากขึ้นเขาพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่องานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.ปัจจัยจูงใจ     (Motivation Factor)
       เป็นปัจจัยกระตุ้นให้คนทำงาน โดยเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ดีที่จะเกิดขึ้น กับพนักงาน อันจะทำให้พนักงานมีความพึงพอใจเกี่ยวกับกับงานที่ทำ
2.  ปัจจัยค้ำจุน (Maintenance Factor) 
           เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่จะสร้างความไม่พอใจในการทำงานให้กับพนักงานชึ่งจะเป็นตัวสกัดกั้นไม่ให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานขึ้นได้ หรือเป็นหัวข้อกำหนดเบื้องต้นที่จะป้องกันมิให้คนไม่พอใจในงานที่ทำอยู่
มีรายละเอียด ดังนี้
1.ปัจจัยจูงใจหรือปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นในการทำงาน (Motivation Factors or Motivators) 
เป็นปัจจัยภายในหรือความต้องการภายในของบุคลากรที่มีอิทธิพลในการสร้างความพึงพอใจ ในการทำงาน เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรงเป็นกลุ่มปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานด้วยความพึงพอใจ และเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ทัศนคติทางบวกและการจูงใจที่แท้จริง ประกอบด้วยปัจจัย 5 ด้าน ได้แก่
1.1 ความสำเร็จในการทำงาน (Achievement) คือ การที่สามารถทำงานได้สำเร็จ ทันตามเป้าหมาย การมีส่วนร่วมในการทำงานของหน่วยงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ความสามารถ ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ การรู้จักป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น และเมื่องานสำเร็จก็เกิดความรู้สึกพอใจ ในความสำเร็จนั้น ได้แก่ การได้ใช้ความรู้ทางวิชาการในการปฏิบัติตามเป้าหมายที่คาดไว้การเปิดโอกาสให้ตัดสินใจในการทำงานของตนเองได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
1.2 การได้รับการยอมรับ (Recognition) คือ การได้รับความยอมรับนับถือจากบุคคล รอบข้าง หรือได้รับการยกย่องชมเชยในความสามารถ รวมทั้งการให้กำลังใจหรือการแสดงออกอื่นใดที่แสดงให้เห็นถึงการยอมรับในความสามารถ ได้แก่การยกย่องชมเชยภายในองค์การ ความภาคภูมิใจ ในอาชีพ การได้รับการยอมรับจากองค์การ การได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน และการมีเกียรติ ศักดิ์ศรีในอาชีพ เป็นต้น
1.3 ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน (Advancement) หรือโอกาสในการเจริญเติบโต (Possibility of Growth) คือ การมีโอกาสได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น การได้รับการเลื่อนขั้นเมื่อ ปฏิบัติงานสำเร็จ การมีโอกาสได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมหรือการได้รับการฝึกอบรม เป็นต้น
1.4 ลักษณะงานที่ทำ (Work Itself) คือ ความน่าสนใจของงาน ต้องอาศัยความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์มีความสำคัญ มีคุณค่า เป็นงานที่ใช้ความคิด มีความท้าทายความสามารถในการทำงาน ความมีอิสระในการทำงาน เป็นงานที่ตรงกับความถนัดและความรู้ที่ได้ศึกษามา เป็นต้น
 1.5 ความรับผิดชอบ (Responsibility) คือ การได้มีโอกาสได้รับมอบหมายงานหรือ มีส่วนร่วมในงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่ควบคุมมากเกินไปจนขาดอิสระในการทำงาน ได้แก่ ความเหมาะสมของปริมาณงาน การได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจในงานที่รับผิดชอบและได้รับมอบหมายงานสำคัญ เป็นต้น

2.ปัจจัยอนามัยหรือปัจจัยที่ช่วยลดความไม่พึงพอใจในการทำงาน (Maintenance or Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง เป็นเพียงสิ่งที่สกัดกั้นไม่ให้บุคลากรเกิด ความไม่พอใจ แต่ไม่สามารถสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นได้ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยพื้นฐาน ที่จำเป็น ที่ต้องได้รับการสนองตอบ เพราะถ้าไม่มีให้หรือให้ไม่เพียงพอ จะทำให้บุคลากรเกิดความไม่พึงพอใจ ในการทำงาน แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ถ้าให้ปัจจัยเหล่านี้แล้ว จะทำให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจ ในการทำงาน ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 10 ด้าน ได้แก่
 2.1 นโยบายและการบริหารขององค์การ (Company Policy and Administration) 
  คือการจัดการและการบริหารงานขององค์การการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ ได้แก่ นโยบาย การควบคุม ดูแล ระบบขั้นตอนของหน่วยงาน 
ข้อบังคับ วิธีการทำงาน การจัดการ วิธีการบริหารงาน ขององค์การ มีการแบ่งงานไม่ซับซ้อนมีความเป็นธรรมมีการเขียนนโยบายที่ชัดเจนและมีการแจ้งนโยบายให้ทราบอย่างทั่วถึง
2.2 การบังคับบัญชาและการควบคุมดูแล (Supervision)
      คือ ลักษณะการบังคับบัญชา ของหัวหน้างาน ความยุติธรรมในการแบ่งและกระจายงานของผู้บังคับบัญชา ความสามารถของ ผู้บังคับบัญชาในการบริหารงาน การให้คำแนะนำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา การสั่งงาน การมอบหมายงานมีความชัดเจน วิธีการดูแลควบคุมการปฏิบัติงาน การรับฟังข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะของ ผู้ใต้บังคับบัญชา การสอนงาน และความยุติธรรมในการมอบหมายงาน เป็นต้น
2.3 ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน (Interpersonal Relations with Supervision) หมายถึง การติดต่อ ไม่ว่าจะเป็นกิริยาหรือวาจาที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีต่อกัน สามารถทำงาน ร่วมกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างดีต่อกัน เช่น ความสนิทสนม ความจริงใจ ความร่วมมือ และ การได้รับความช่วยเหลือจากหัวหน้างาน 
2.4 ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (Interpersonal Relations with Peers) 
หมายถึง การติดต่อ ไม่ว่าจะเป็นกิริยาหรือวาจาที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีต่อกัน สามารถทำงานร่วมกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน เช่น ความสนิทสนมความจริงใจ ความร่วมมือและการได้รับความช่วยเหลือ จากเพื่อนร่วมงาน
2.5 ความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา
(Interpersonal Relationswith Subordinators)
หมายถึง การติดต่อ ไม่ว่าจะเป็นกิริยาหรือวาจาที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีต่อกัน สามารถทำงาน ร่วมกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน เช่น ความสนิทสนม ความจริงใจ ความร่วมมือและการได้รับ ความช่วยเหลือจากผู้ใต้บังคับบัญชา
2.6 ตำแหน่งงาน (Status)
คือ อาชีพนั้น ๆ ต้องเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม มีเกียรติ และศักดิ์ศรีมีความสำคัญของงานต่อองค์การ เป็นต้น
 2.7 ความมั่นคงในการทำงาน (Job Security)
หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อความมั่นคงในการทำงานความยั่งยืนของหน้าที่การงานความมั่นคง ภาพพจน์ชื่อเสียง หรือขนาด ขององค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน 
2.8 ชีวิตส่วนตัว (Personal Life) 
คือความรู้สึกที่ดีหรือไม่ดีอันเป็นผลที่ได้รับจากการทำงานหรือหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานได้แก่สภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน ความสะดวก ในการเดินทางมาทำงาน
2.9 สภาพการทำงาน (Working Conditions)
คือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ทำงาน เช่น ห้องทำงาน เสียง แสงสว่าง อุณหภูมิการระบายอากาศ กลิ่น บรรยากาศในการทำงาน ชั่วโมง ในการทำงาน รวมทั้งลักษณะสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบ ต่อผู้ทำงานและเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความพึงพอใจต่อการทำงาน 
2.10 ค่าตอบแทน (Compensations) และสวัสดิการ (Welfares) 
คือ ผลตอบแทน ที่องค์การจ่ายให้แก่บุคลากรสำหรับการทำงานให้องค์การ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของเงินเดือน ค่าจ้าง รวมทั้งการเลื่อนขั้นเงินเดือนในหน่วยงานให้เหมาะสม การเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นไปอย่างเป็นธรรม เป็นที่พอใจของบุคคลากร นอกจากนี้ ยังรวมถึงรางวัลที่ให้กับบุคลากรที่เป็นผลมาจากการทำงาน ในตำแหน่งต่าง ๆ ขององค์การ หรือเป็นผลตอบแทนชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งบุคลากรได้รับเพิ่มเติม นอกเหนือจากเงินเดือน ค่าจ้าง ได้แก่สวัสดิการด้านสุขภาพและการประกันชีวิต วันหยุดพักผ่อนหรือ พักร้อน เงินช่วยค่าครองชีพ เงินโบนัส เป็นต้น 

สรุปได้ว่า ความสัมพันธ์ของความพอใจที่เกิดจากแรงจูงใจตามองค์ประกอบของทฤษฎี 2 ปัจจัย ของเฮอร์ซเบิร์ก ตามรายละเอียดดังภาพ



ข้อดี/ข้อเสีย
ข้อดี
·      เป็นทฤษฎีที่สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรงเพื่อจูงใจให้คนชอบและรักงานปฏิบัติ เป็นการกระตุ้นให้เกิดความพึงพอใจให้แก่บุคคลในองค์การ ให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
·      ปัจจัยที่สามารถสนองตอบความต้องการภายในของบุคคล
 ข้อเสีย
 เป็นทฤษฎีที่ใช้ได้กับกลุ่มอาชีพที่มีฐานะตำแหน่งสูง เช่น วิศวกรหรือนักบัญชี กรณีการนำไปใช้กับพนักงานระดับต่ำลงไปหรือพนักงานสตรี และ ณ ระดับของพนักงานประจำวัน จะไม่ค่อยได้ผลลัพธ์ที่น่าพึ่งพอใจ

ใช้เพื่ออะไร
งานที่สร้างแรงจูงใจที่แท้จริง ตามแนวคิดของ Herzberg
   งานที่ดีจะต้องมีความท้าทายเพื่อกระตุ้นให้พนักงานได้ใช้ความสามารถ
    พนักงานที่มีความสามารถสูงขึ้นจะต้องได้รับงานที่มีความรับผิดชอบสูงขึ้นด้วยเช่นกันหากงานที่มีอยู่ไม่เหมาะสมกับความสามารถของพนักงานจะต้องมีการพิจารณาโดยเร่งด้วยหรือหาพนักงานมีความสามารถต่ำมาทำงานแทน  แต่หากพนักงานไม่ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถนั้นแสดงว่าเกิดปัญหาด้านการจูงใจ

การนำทฤษฎีมาใช้
ปัจจัยสุขอนามัย (Hygiene Factors)
·      ความสำเร็จ
·       การได้รับการยอมรับ
·       ตัวงานที่ทำ
·       ความรับผิดชอบ
·       การได้รับการเลื่อนตำแหน่ง
·       ความเจริญก้าวหน้า
     ปัจจัยจูงใจ (Motivational Factors)
·       ค่าตอบแทนและผลประโยชน์
·       นโยบายบริษัทและการบริหาร                           
·       ความสัมพันธ์ในหมู่พนักงานด้วยกัน           
·       สภาพแวดล้อมทางกายภาพในการทำงาน                 
·       การควบคุมดูแลงาน
·       สถานภาพ ความมั่นคงของงาน

โดยสรุป Herzberg ได้ให้ความเข้าใจว่าแรงจูงใจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากแต่คนและจะมิใช่ขึ้นอยู่กับผู้บริหารโดยตรงและปัจจัยที่ใช้ในการบำรุงจิตใจนั้นอย่างดีที่สุดก็คือจะสามารถช่วยขจัดความไม่พอใจต่างๆได้แต่จะไม่สามารถสร้างความพึ่งพอใจได้ ดังนั้น ในกระบวนการจูงใจที่ต้องการสร้างให้เกิดแรงจูงใจที่ดี จึงจำเป็นต้องจัดและกำหนดปัจจัยต่างๆทั้งสองกลุ่ม 
คือ ทั้งปัจจัยที่ใช้บำรุงจิตใจ (สภาพแวดล้อม) และปัจจัยที่ใช้จูงใจได้ (ของงานที่ทำ) ทั้งสองอย่างพร้อมกัน

การนำไปใช้จริง
ชูยศ ศรีวรขันธ์  (2552)  นำ แนวคิดของ Frederick Herzberg ในการทำวิจัย เรื่องปัจจัยแรงจูงใจต่อผลการปฏิบัติงาน:กรณีศึกษา ขององค์การบริหารส่วนตาบล เขตอาเภอเมือง จ.นครราชสีมา 

ผลการวิจัยพบว่า
บุคลากรในท้องถิ่นมีความพึงพอใจในการทางานมากจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทางานขององค์กรเพิ่มขึ้นแต่จะไม่พึงพอใจในการได้รับเงินค่าตอบอื่นเป็นกรณีพิเศษเท่าที่ควรและได้สะท้อนให้เห็นปัญหาการได้รับเงินค่าตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ(โบนัส)ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และการขาดมาตรฐานในการประเมินผลงานขององค์การบริหารส่วนตาบลที่เกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนต่างๆต้องได้รับการปรับปรุงและแก้ไขในส่วนที่บกพร่องและทาให้เกิดปัญหาเพื่อแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต

การนำไปใช้และผลที่ได้
อุทัย หอมนาน , ผณินทรา ธีรานนท์,ฉลองรัฐ เจริญศรี  
บทความวิชาเรื่องขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการพัฒนำชุมชนจังหวัดเชียงราย
        ประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎีจูงใจหรือทฤษฎี 2 ปัจจัยของเฟรดเดอริก เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg) โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามที่สร้างขึ้น เก็บข้อมูลจากข้าราชการพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย จำนวน 109 คน 
ผลการศึกษาพบว่า...ข้าราชการพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงรายมีขวัญและกำลังใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ปัจจัยสุขอนามัย จำนวน 8 ด้าน มีขวัญและกำลังใจแตกต่างกันเป็น2ระดับ กล่าวคือ ขวัญและกำลังใจระดับ มากมีจำนวน 4 ด้านคือ ด้านการบังคับบัญชา ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 
ด้านสถานภาพและด้านความเป็นอยู่ส่วนบุคคลส่วนขวัญและกาลังใจระดับปานกลางมีจานวน 4 ด้านคือ ด้านสภาพการทางาน ด้านค่าจ้าง เงินเดือนและสวัสดิการ ด้านความมั่นคงในหน้าที่การงานและด้านนโยบายองค์การ 
ส่วนปัจจัยจูงใจ จำนวน 6 ด้าน ข้าราชการพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงรายมีระดับขวัญและกำลังใจเป็น 2 ระดับ คือ ระดับมาก จำนวน 5 ด้านประกอบด้วย ด้านความสำเร็จของงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความรับผิดชอบ ด้านลักษณะงาน และด้านการพัฒนาตนเองส่วนด้านโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มีขวัญและกำลังใจระดับ ปานกลาง

กรณีศึกษา
     บริษัท ตันไม่ตัน จำกัด
     Bathroom Design

     บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด

ขอขอบคุณ ที่มา...

http://adisony.blogspot.com/2012/10/frederick-herzberg.html

http://acad.vru.ac.th/Journal/journal%206_3/6_3_13.pdf
วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่6 ฉบับที่3 กันยายน-ธันวาคม 2559

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น